ประวัติสำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง

D100226 2LXD

 

         ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศ และความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ประชากรส่วนใหญ่จึงมีอาชีพทางการเกษตร โดยสืบทอดจาบรรพบุรุษมานานนับศตวรรษแล้ว การทำอาชีพเกษตรกรรมของคนไทยในสมัยก่อน ๆ นั้น ต้องอาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเพาะปลูก ในระยะต่อมาประชากรได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การแสวงหาพื้นที่ทำกินก็ได้ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย กลุ่มคนที่ไม่มีพื้นที่ทำกินิเป็นของตนเองบางกลุ่ม ได้บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนหรือพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ซึ่งทำให้ทรัพยากรธรรมชาติต้องเปลี่ยนแปรสภาพไปฝนที่เคยตกต้องตามฤดูกาล และเพียงพอสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล และไม่เพียงพอ ต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น การ จัดหาน้ำโดยการสร้างระบบชลประทานมาเพิ่มเติมจึงมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อ ที่จะช่วยในการทำอาชีพเกษตรกรรมได้ผลดียิ่งขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

         โครงการชลประทานในประเทศไทย ได้ทำกันมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่การพัฒนาทางด้านวิธีการใหม่ๆ ยังคงล่าช้า เมื่อ เทียบกับวิทยาการด้านอื่นๆ จนกระทั่งในช่วง 30-40 ปี หลังนี้ประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมต่อครอบครัวลดลงไป ในขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มผลผลิตเพื่อพอเลี้ยงประชากรภายในประเทศ และเหลือพอที่จะส่งไปขายในต่างประเทศ จึงเป็นแรงผลักดันให้มีการค้นคว้าวิจัย หา วิธีการใช้น้ำชลประทานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นในปัจจุบัน รัฐบาลได้ก่อสร้างระบบชลประทานเป็นโครงการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กหลายโครงการทั่วประเทศ สำหรับจัดหาน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ครอบคลุม พื้นที่ประมาณ 27 ล้านไร่ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่อยู่ในเขตการรับน้ำของโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอีก ประมาณ 1 ล้านไร่ ทั้งนี้ เพื่อมุ่งหวังที่จะให้การแพร่กระจายน้ำ และการใช้น้ำที่จัดหามาแล้ว ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้การลงทุนในการสร้างระบบชลประทานมีผลคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ริเริ่มจัดทำโครงการจัดรูปที่ดินขึ้น เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2509

         โครงการจัดรูปที่ดินในประเทศไทย เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2512 โดย ก่อสร้างเป็นแปลงตัวอย่างที่ ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ อยู่ในเขตชลประทานโครงการเจ้าพระยาใหญ่ซึ่งได้รับความช่วยเหลือทางด้าน วิชาการและการเงินจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ต่อมาได้ขยายพื้นที่ไปในเขตโครงการชลประทานอื่นๆ เกือบทุกภาคของประเทศ การดำเนินงานโครงการจัดรูปที่ดินตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2529 เป็นโครงการที่อยู่ในแผนงานของรัฐบาลดำเนินงานก่อสร้างโดยอาศัยเงินกู้จาก ต่างประเทศส่วนหนึ่งและสมทบกับเงินงบประมาณอีกส่วนหนึ่งในระหว่างที่ดำเนิน การนั้น พื้นที่ของเกษตรกรที่อยู่ทนอกแผนงานของทางราชการ เห็นประโยชน์ของการดำเนินงานจัดรูปที่ดิน จึงได้ร้องขอให้ทางราชการดำเนินการให้บ้าง โดยยินดีที่จะจ่ายค่าก่อสร้างเองทั้งหมด ซึ่งเรียก ?โครงการจัดรูปที่ดินแบบประชาอาสา? งานในรูปแบบนี้ ได้ขยายเพิ่มขึ้นบ้างตามที่ราษฎรเจ้าของที่ดินต้องการ แต่ก็ไม่สามารถขยายงานออกไปได้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดเจ้าของที่ดินต้องจ่ายเอง ซึ่งในเขตพื้นที่หนึ่งๆ ที่ร้องขอมา กำลังความสามารถด้านเงินทุนของเกษตรกรแต่ละรายไม่เท่ากัน ทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งรัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า รูปแบบโครงการจัดรูปที่ดินแบบประชาอาสาน่าจะดำเนินงานต่อไปได้ และเพื่อขยายงานจัดรูปที่ดินเป็นไปอย่างกว้างขวางทันกับความต้องการของเกษตร จึงเห็นสมควรจะให้มีกองทุนหนึ่งเรียกว่า ?กองทุนจัดรูปที่ดิน? เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน ดังนั้นรัฐบาลจึงได้แก้ไขพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 จัดตั้งกองทุนจัดรูปที่ดิน ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2534

        ในปัจจุบัน โครงการจัดรูปที่ดินได้ดำเนินการไปแล้วในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 27 จังหวัด คือ  พิจิตร พิษณุโลก ลำปาง ราชบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี กาญจนบุรี อ่างทอง เพชรบุรี นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม สกลนคร ขอนแก่น เลย บุรีรัมย์สุรินทร์ มหาสารคาม อุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี

        ซึ่ง อยู่ในเขตการรับน้ำของโครงการชลประทาน 8 โครงการ คือ โครงการเจ้าพระยาใหญ่ โครงการพิษณุโลก โครงการแม่กลองใหญ่ โครงการหนองหวาย โครงการน้ำอูน โครางการแม่วัง ? กิ่วลม โครงการชลประทานเลย โครงการอ่างเก็บน้ำอำปึล และพื้นที่อยู่ในเขตการรับน้ำของโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอีก 1 โครงการ คือ โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมพื้นที่จัดรูปที่ดินทั้งหมดประมาณ 1.7 ล้านไร่

1460


สงวนสิขสิทธิ์ © 2563 สำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง กรมชลประทาน
อาคารที่ทำการฝ่ายวิชาการ ชั้น 10 กรมชลประทาน 811 ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
อีเมล : consolidation@rid.go.th
ผู้ดูแลเว็บไซต์ นางสาวภชาพร เกล็ดนิ่ม โทร 0-2669-5028
2.png0.png9.png4.png9.png5.png
สัปดาห์นี้737
เดือนนี้4123
ทั้งหมด209495
26 ธันวาคม 2567