ขั้นตอนการจัดรูปที่ดิน
ขั้นตอนการจัดรูปที่ดิน
1.นโยบายเกี่ยวกับงานจัดรูปที่ดิน
คณะกรรมการกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการจัดรูปที่ดินทั้งหมดของประเทศ เพื่อ
1.1 กำหนดแผนงานจัดรูปที่ดินที่ต้องดำเนินการตาม แผนระยะยาว
1.2 กำหนดแผนงานระยะปานกลาง ( 5 ปี )
2.สำรวจความเหมาะสมของพื้นที่เพื่อวางโครงการสำรวจ
2.1 ปริมาณน้ำต้นทุนและ ระบบกระจายน้ำในสายหลักสายซอยว่า มีปริมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนให้เกษตรกรเจ้าของที่ดิน สามารถดำเนินการเพาะปลูกพืช ทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้ง
2.2 การสำรวจระบบ ระบายน้ำในเขตพื้นที่โครงการ ควรจะมีแหล่ง ระบายน้ำ เช่น ลำห้วย ลำคลอง เพื่อการ ระบายน้ำจากพื้นที่ โครงการได้ดี
2.3 ขนาด การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของเกษตรกร เนื่องจาก ขนาดการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จะเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการจัดรูปที่ดิน หากการถือครองกรรมสิทธิ์ ในที่ดิน มีขนาดเล็กเกินไป จะมีผลต่อการแบ่งหักที่ดินในการดำเนิน การก่อสร้างเป็นแนวคูส่งน้ำ คูระบายน้ำ ทางลำเลียง อาจจะทำให้ที่ดินที่ถือกรรมสิทธิ์ลดน้อยลงไปอีก ไม่คุ้มค่าต่อการลง ทุนในการทำการเกษตร
2.4 สภาพความลาดเท ของพื้นที่มีความเหมาะสมต่อการกระจาย น้ำในระดับแปลงนา และการระบายน้ำสู่ระบบระบายน้ำหลัก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่ลุ่มน้ำแช่ขัง หรือพื้นที่ที่ลาดเทมาก ๆ เพราะ จะทำ ให้ในแปลงนาไม่สามารถกักเก็บน้ำได้
2.5 การศึกษาและ วิเคราะห์โครงการโดยการรวบรวม หรือสำรวจข้อมูลทางด้าน เศรษฐกิจและสังคม ในเขตพื้นที่โครงการ และวิเคราะห์ ความเหมาะสมของโครงการในการจัดรูปที่ดิน ซึ่งหลัก เกณฑ์ ในการประเมินโครงการ ทางเศรษฐกิจพิจารณาจากตัวชี้วัด ต่าง ๆ ดังนี้
อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (IRR)
- มูลค่าปัจจุบันสุทธิ
- อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน
- พื้นที่ดำเนินการ และแผนที่ประกอบ
- จำนวนเนื้อที่การถือครองที่ดิน
- สภาพปัญหาของเกษตรกร เช่น ไม่ได้รับน้ำในการเพาะปลูกไม่มีถนนสำหรับเข้าแปลงและลำเลียงผลผลิต
- จำนวนเกษตรกรที่ร่วมโครงการ
- การใช้พื้นที่
- ขอบเขตการส่งน้ำ การระบายน้ำ
- กำหนดแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนของการจัดรูปที่ดิน
3.การวางโครงการและกำหนดแผนการดำเนินการ ม.13(1)
นำเสนอคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง เพื่อเสนอขออนุมัติ วางโครงการ
4.ประชุมเกษตรกร สอบถามความสมัครใจและจัดทำบันทึกยินยอม ม.14(1) ม.27
เมื่อได้พื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดรูปที่ดิน นัดประชุมชี้แจง เกษตรกรเจ้าของที่ดินให้เข้าใจงานจัดรูปที่ดิน ทำบันทึก ยินยอม / ไม่ยินยอมเกษตรกรเจ้าของที่ดินทุกราย ตรวจสอบหากยินยอมเกินกึ่งหนึ่งจึงจะดำเนินการประกาศกำหนดท้องที่ที่จะสำรวจ เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน
5.ออกประกาศกำหนดท้องที่ที่จะสำรวจเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ม.25
5.1 เมื่อเจ้าของที่ดินยินยอมให้จัดรูปที่ดินเกินกึ่งหนึ่ง จัดทำร่างประกาศและแผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวง มหาดไทย
5.2 นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามร่วม
5.3 จ้างพิมพ์แผนที่แนบท้ายประกาศ เพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5.4 ดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5.5 ส่งประกาศฯ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
6.สำรวจข้อมูลเพื่อใช้ในการออกแบบ ม.25
6.1 จัดหาภาพถ่ายทางอากาศที่ดัดแก้แล้ว มาตราส่วน 1 : 4000 เพื่อนำมาประกอบในการจัดทำแผนที่แปลงกรรมสิทธิ ในบริเวณ พื้นที่ที่จะทำการจัดรูปที่ดิน
6.2 ทำการสำรวจรายชื่อเจ้าของแปลง กรรมสิทธิ์ และขอบเขตการครอบครองจากหลักฐานเดิมกับแผนที่แปลงกรรมสิทธิ์ที่จัดท ขึ้นจาก ภาพถ่ายทางอากาศกำหนดหมายเลข แปลงในที่ดิน
6.3 สำรวจระดับและรายละเอียดภูมิประเทศในพื้นที่ที่จะ ทำการจัดรูปที่ดิน
6.4 จัดทำระดับและรายละเอียดภูมิประเทศลงในแผนที่
6.5 สำรวจรายละเอียดน้ำต้นทุน และระดับน้ำในคลองส่งน้ำ ที่จะนำมาใช้ในการออกแบบงานจัดรูปที่ดิน
7.ดำเนินการออกแบบ ม.14(4) ม.30
7.1 รวบรวมข้อมูลประกอบการออกแบบ เช่น รูปแปลง กรรมสิทธิ์ แผนที่แสดงเส้นชั้นความสูงของภูมิประเทศ ภาพถ่ายทางอากาศที่ดัดแก้แล้ว รายชื่อเกษตรกรเจ้าของที่ดิน ข้อมูลและข้อกำหนดเฉพาะในการออกแบบ ข้อมูลระบบการส่งน้ำ การระบายน้ำสายใหญ่ และสภาพภูมิประเทศ
7.2 วางระบบชลประทานในระดับแปลงนา และการออกแบบรูปแปลงกรรมสิทธิ์ขั้นต้น
7.3 ประชุมชี้แจงแบบ แนวก่อสร้าง ทำความตกลงกำหนด แปลงที่ดินใหม่กับเกษตรกรเจ้าของที่ดิน เพื่อขอความเห็นชอบจาก เจ้าของที่ดิน
7.4 แก้ไขแบบรูปแปลงกรรมสิทธิ์ขั้นต้น ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศจริงในปัจจุบันตรงกับความต้องการของเกษตรกร และถูกต้องตามหลักวิชาการออกแบบขั้นสุดท้าย โดยการออกแบบ ขนาด คูส่งน้ำ ถนน คูระบายน้ำ อาคารควบคุมน้ำ อาคารบังคับน้ำ และอาคารประกอบต่าง ๆ
7.5 ลอกแบบ ทำการคัดลอกแบบลงในกระดาษมาตรฐาน ต่อจากการออกแบบขั้นสุดท้าย หมายเหตุ การดำเนินงานในขั้นตอนที่ 6 และขั้นตอนที่ 7 ควรดำเนินงานควบคู่กันไปเพื่อจะได้ขอบเขตโครงการจัดรูปที่ดินที่เหมาะสมกับ พื้นที่
8.ออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ม.24
8.1 ตรวจสอบพื้นที่ที่ได้ประกาศเขตสำรวจไว้และกำหนด เขตโครงการจัดรูปที่ดิน โดยอาศัยข้อมูลแนวออกแบบเบื้องต้น เพื่อ ออกพระราชกฤษฎีกา
8.2 จัดทำบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดินและหลักฐานที่เกี่ยวกับที่ดินเพื่อแนบท้ายพระราชกฤษฎีกา
8.3 ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตโครงการ จัดรูปที่ดิน พร้อมด้วยแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดินบันทึกวิเคราะห์สรุป และ บันทึกหลักการและเหตุผล
8.4 ร่างหนังสือเพื่อส่งพระราชกฤษฎีกา เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
8.5 จ้างพิมพ์แผนที่และบัญชีรายชื่อแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาเพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
8.6 ดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
8.7 ส่งพระราชกฤษฎีกาที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
9.ปิดประกาศพระราชกฤษฎีกา และปิดประกาศผังแปลง ม.33, ม.34, ม.38
9.1 สำนักงานจัดรูปทีดิ่นจังหวัดนำพระราช กฤษฎีกากำหนด เขตโครงการจัดรูปที่ดินพร้อมบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดิน และหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินเสนอคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด นำไปปิดประกาศไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการตำบล และที่ชุมชนในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน
9.2 ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิตรวจสอบเอกสารหลักฐานและ คัดค้านเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ปิดประกาศการปิดประกาศผังแปลง
9.3 เมื่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดิน จังหวัดพิจารณาแผนผัง การจัดแปลงที่ดินแล้วนำแผนผังแปลงจัดรูปที่ดินพร้อมบัญชี รายชื่อไปปิดประกาศไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการตำบล และที่ชุมชนในเขต โครงการจัดรูปที่ดิน
9.4 เจ้าของที่ดินสามารถตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันได้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศ
10.ดำเนินการก่อสร้าง ม.31, ม.37
10.1 สำรวจตรวจสอบดูสภาพทั่วไป บริเวณพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดิน เพื่อให้ทราบสภาพภูมิประเทศโดยทั่ว ๆ ไป
10.2 วางผังให้แนวศูนย์กลาง คูส่งน้ำ ถนน และคูระบายน้ำ ตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งจะลัดเลาะไปตามแนวเขตแปลงกรรมสิทธิ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง คือ เจ้าหน้าที่รังวัดที่ดิน กรมที่ดิน ผู้ควบคุมงาน เกษตรกรเจ้าของที่ดิน
10.3 เปิดแนวและหน้าดิน เพื่อขจัดวัชพืชหรือต้นไม้สิ่งกีดขวาง ให้ออกจากแนวคูส่งน้ำ ถนน และคูระบายน้ำ
10.4 ให้ระดับหลังคันของคูส่งน้ำ ถนน ขนย้ายดินมา ทำเป็นตัวคูส่งน้ำและถนนทำการบดอัดให้ได้ระดับและความแน่นตามแบบที่กำหนด
10.5 ให้ระดับคันคูระบายน้ำ ขุดคูระบายให้ได้ขนาดระดับความลาดเทตามแบบ
10.6 สร้างอาคารประกอบในคูระบายน้ำตามที่แบบกำหนด
10.7 ขุดคูส่งน้ำ ตามขนาด และความลาดเทตามที่กำหนด
10.8 ตั้งไม้แบบ ให้ได้ระดับและความหนาตามที่แบบกำหนด
10.9 ลาดคอนกรีตคูส่งน้ำ
10.10 สร้างอาคารประกอบในคูส่งน้ำตามที่แบบกำหนด
10.11 เก็บรายละเอียดและความเรียบร้อยของงานทั้งหมด
11.ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินใหม่
11.1 เรียกเก็บหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมจากเกษตรกร เจ้าของที่ดินในเขตจัดรูปที่ดินที่ก่อสร้างจัดรูปที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว
11.2 บันทึกสอบสวนเจ้าของที่ดินเกี่ยวกับพื้นที่ข้างเคียง และรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับที่ดิน
11.3 ออกหนังสือการรับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิม ให้แก่เจ้าของทีดิ่นไว้เป็นหลักฐานเมื่อมารับโฉนดที่ดินที่ออกใหม่
11.4 จัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิได้ รับโฉนดที่ดินใหม่ เสนอคณะอนุกรรมการ (ถ้ามี) พิจารณาความถูกต้อง และเสนอคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบ
11.5 แจ้งขอดำเนินการออกโฉนดที่ดิน พร้อมทั้งส่งมอบ เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด เพื่อออกโฉนดที่ดินตามบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิได้รับโฉนดที่ดินใหม่ โฉนดที่ดินใหม่ที่เสร็จแล้ว สำนักงานที่ดินจังหวัดจะส่งมอบให้ สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัด รับไปแจกให้แก่เกษตรกรเจ้าของที่ดิน
12.จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ ม.47
12.1 กำหนดพื้นที่แฉกส่งน้ำและกลุ่มย่อย
12.2 เตรียมข้อมูลและรายชื่อเจ้าของที่ดิน
12.3 ส่งรายชื่อเจ้าของที่ดินและประสานงานกับหน่วยราชการ เช่น หน่วยส่งเสริมสหกรณ์ , สหกรณ์จังหวัด , โครงการชลประทานฯ , เกษตรอำเภอ
12.4 ประชุมเกษตรกรเจ้าของที่ดินให้ เข้าใจข้อบังคับ การดำเนินงาน และการบริหารงานส่งน้ำแบะบำรุงรักษาของกลุ่มผู้ใช้น้ำ เลือกประธานกลุ่มเลขากลุ่ม
12.5 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำ
13.ดำเนินการสนับสนุนการเกษตรด้านต่างๆ ม.4
13.1 จัดทำโครงการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ (ในด้านต่าง ๆ)
13.2 โครงการบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการผลิตและการตลาด เป็นต้น
14.ตรวจสอบ ติดตามผลงานและประเมินผล
14.1 ติดตาม ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลผลงานก้าวหน้า ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน กิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดิน
14.2 จัดทำฐานข้อมูลของงานจัดรูปที่ดิน โดย
14.3 ศึกษา วิเคราะห์ปัญหาเพื่อปรับปรุงและพัฒนา ระบบข้อมูลเดิม